ปิดตาย 3 ปีห้ามค้าปลีกขยายสาขา "ผังเมือง" เข้มก่อนโชห่วยสูญพันธุ์
บอร์ด ผังเมืองใหญ่ไฟเขียว ขยายอายุอีก 3 ปี ประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง คุมค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ 66 จังหวัด ก่อนโชห่วยสูญพันธุ์ "พิจิตร" เข้มสุดๆ เปิดได้แต่ต้องมีขนาดไม่เกิน 500 ตร.ม. "ศรีสะเกษ" ยอมเปิดพื้นที่ 4 อำเภอ เผยกลุ่มทุนค้าปลีกท้องถิ่น 11 จังหวัด ไม่หวั่นโมเดิร์นเทรดต่างชาติ ให้เปิดสาขาได้เกิน 1,000 ตร.ม. "ประจวบฯ-ยะลา-นราธิวาส" สวนกระแส อ้าแขนรับทุนนอก "เชียงราย" เอาด้วยบูมค้าชายแดน
นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการ (บอร์ด) ผังเมืองแห่งชาติ ได้พิจารณาประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวางและจัดทำผัง เมืองรวมในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกี่ยวกับอาคารพาณิชย
กรรมประเภทค้า ปลีกค้าส่ง ในพื้นที่ยังไม่มีผังเมืองรวมจังหวัดบังคับใช้ ตามที่คณะกรรมการจังหวัดเสนอเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ในจังหวัดต่าง ๆ ตามที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ หลังมีปัญหาการร้องเรียนจากผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งเดิมหรือโชห่วยที่ได้ รับผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ เช่น บิ๊กซี โลตัส แม็คโคร ฯลฯ
"ใน 76 จังหวัดนี้ บอร์ดได้อนุมัติขยายอายุประกาศมี 66 จังหวัดออกไปอีก 3 ปี จากเดิมสิ้นสุดการบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยให้ยึดหลักเกณฑ์เดิมทุกอย่าง โดยประกาศใหม่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อเที่ยงคืน ของวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยตัด 9 จังหวัด มีผังเมืองรวมจังหวัดบังคับใช้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกประกาศ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นนทบุรี สิงห์บุรี สระบุรี เชียงใหม่ ยโสธร และนครนายก"
นอก จากนี้มี 2 จังหวัดที่ไม่ต้องการจะคุมเรื่องการก่อสร้างค้าปลีก และต้องการให้มีการเข้าลงทุนมาก ๆ คือ ยะลาและนราธิวาส และมี 11 จังหวัดที่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ขอปรับปรุงข้อกำหนดใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งบอร์ดได้อนุมัติทั้งหมดตามที่เสนอ ประกอบด้วย 1) กาฬสินธุ์ ขอปรับเรื่องตำแหน่งที่ตั้งใหม่ จากเดิมสร้างขนาดไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากเขตเทศบาลเป็นไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากศาลาว่าการอำเภอแทน 2) เชียงราย ขอเปิดพื้นที่ชุมชนเชียงของ ที่เป็นด่านการค้าเชื่อมกับประเทศลาว ให้สร้างได้เกิน 1,000 ตารางเมตร เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนมากขึ้น 3) นครพนม ต้องการให้คุมระยะถอยร่นริมแหล่งน้ำสาธารณะมากขึ้น จากเดิม 3 เมตรเป็นไม่น้อยกว่า 10 เมตร
4) บึงกาฬ ขอปรับเรื่องระยะถอยร่นริมแม่น้ำเช่นกัน โดยให้ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างค้าปลีกค้าส่งต้องอยู่ห่างจากริมแม่น้ำ 100 เมตร 5) ประจวบคีรีขันธ์ จะเปิดพื้นที่ทั้งจังหวัดให้สามารถสร้างค้าปลีกค้าส่งได้เกิน 1,000 ตารางเมตร จากเดิมเคยห้ามในบางพื้นที่ เช่น ตำบลห้วยยาง ฯลฯ
6) ศรีสะเกษ จากเดิมห้ามไม่ให้มีค้าปลีกสมัยใหม่เข้าไปก่อสร้าง แต่เพราะปัจจุบันไม่สามารถควบคุมได้ มีค้าปลีกขนาดใหญ่ไปก่อสร้าง 6 แห่ง ล่าสุดจึงขอเปิดพื้นที่เพื่อให้สร้างค้าปลีกค้าส่งได้เกิน 1,000 ตารางเมตร ใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ, ขุขันธ์, อุทุมพรพิสัย และกันทรลักษ์
7) พิจิตร ขอคุมเข้มการก่อสร้างค้าปลีกค้าส่งมากขึ้น ในระยะห่างจากพื้นที่ใกล้เมือง 15 กิโลเมตร จากเดิมสร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เหลือไม่เกิน 500 ตารางเมตร 8) หนองคาย กลุ่ม
ผู้ประกอบ การท้องถิ่น ขอให้เพิ่มพื้นที่สร้างได้มากขึ้นจากเดิมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เป็นไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร เพื่อให้ทางผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถสู้กับค้าปลีกแนวใหม่ได้ 9) สุโขทัย ขอให้มีการก่อสร้างค้าปลีกเกิน 1,000 ตารางเมตร ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 7-8 กิโลเมตร ตั้งแต่สี่แยกวังกระจายจนถึงแยกโค้งตานก เนื่องจากจังหวัดไม่มีค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ในพื้นที่ จะต้องเดินทางไปซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จังหวัดพิษณุโลก
10) สกลนคร ยึดหลักเกณฑ์เดิมสร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ขอปรับให้อยู่ริมถนนขนาด 2 ช่องจราจรได้ จากเดิมต้องเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมปรับลดพื้นที่ว่างโดยรอบอาคารจากเดิม 70% เหลือ 50% เพื่อลดต้นทุนก่อสร้าง และ 11) อำนาจเจริญ ให้สร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และขอปรับระยะถอยร่นจากริมถนนเดิม 50 เมตรเหลือ 50 เมตร
นาย เชตวันกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างยกร่างกฎกระทรวงควบคุมอาคาร เพื่อคุมการขออนุญาตค้าปลีกค้าส่งโดยเฉพาะ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้แนบเข้าไปในผังเมืองรวมด้วย ใน 8 จังหวัด คือ ภูเก็ต สมุทรปราการ เชียงใหม่ ยโสธร นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี และนนทบุรี ยกเว้นกรุงเทพฯที่มีการดำเนินการไปแล้ว
นายเชตวัน อนันตสมบูรณ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมือง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2555 คณะกรรมการ (บอร์ด) ผังเมืองแห่งชาติ ได้พิจารณาประกาศกรมโยธาธิการและผังเมือง เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ในการวางและจัดทำผัง เมืองรวมในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกี่ยวกับอาคารพาณิชย
กรรมประเภทค้า ปลีกค้าส่ง ในพื้นที่ยังไม่มีผังเมืองรวมจังหวัดบังคับใช้ ตามที่คณะกรรมการจังหวัดเสนอเข้าสู่ที่ประชุม เพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ในจังหวัดต่าง ๆ ตามที่ได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้ หลังมีปัญหาการร้องเรียนจากผู้ประกอบการค้าปลีกค้าส่งเดิมหรือโชห่วยที่ได้ รับผลกระทบจากการขยายตัวของธุรกิจค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่ เช่น บิ๊กซี โลตัส แม็คโคร ฯลฯ
"ใน 76 จังหวัดนี้ บอร์ดได้อนุมัติขยายอายุประกาศมี 66 จังหวัดออกไปอีก 3 ปี จากเดิมสิ้นสุดการบังคับใช้วันที่ 29 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยให้ยึดหลักเกณฑ์เดิมทุกอย่าง โดยประกาศใหม่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้แล้วเมื่อเที่ยงคืน ของวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา โดยตัด 9 จังหวัด มีผังเมืองรวมจังหวัดบังคับใช้อยู่แล้ว ไม่ต้องออกประกาศ ได้แก่ กรุงเทพฯ ภูเก็ต สมุทรปราการ นนทบุรี สิงห์บุรี สระบุรี เชียงใหม่ ยโสธร และนครนายก"
นอก จากนี้มี 2 จังหวัดที่ไม่ต้องการจะคุมเรื่องการก่อสร้างค้าปลีก และต้องการให้มีการเข้าลงทุนมาก ๆ คือ ยะลาและนราธิวาส และมี 11 จังหวัดที่ผู้ประกอบการท้องถิ่น ขอปรับปรุงข้อกำหนดใหม่ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของจังหวัด ซึ่งบอร์ดได้อนุมัติทั้งหมดตามที่เสนอ ประกอบด้วย 1) กาฬสินธุ์ ขอปรับเรื่องตำแหน่งที่ตั้งใหม่ จากเดิมสร้างขนาดไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร ในระยะไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากเขตเทศบาลเป็นไม่เกิน 3 กิโลเมตรจากศาลาว่าการอำเภอแทน 2) เชียงราย ขอเปิดพื้นที่ชุมชนเชียงของ ที่เป็นด่านการค้าเชื่อมกับประเทศลาว ให้สร้างได้เกิน 1,000 ตารางเมตร เพื่อส่งเสริมการค้าชายแดนมากขึ้น 3) นครพนม ต้องการให้คุมระยะถอยร่นริมแหล่งน้ำสาธารณะมากขึ้น จากเดิม 3 เมตรเป็นไม่น้อยกว่า 10 เมตร
4) บึงกาฬ ขอปรับเรื่องระยะถอยร่นริมแม่น้ำเช่นกัน โดยให้ผู้ประกอบการที่ต้องการสร้างค้าปลีกค้าส่งต้องอยู่ห่างจากริมแม่น้ำ 100 เมตร 5) ประจวบคีรีขันธ์ จะเปิดพื้นที่ทั้งจังหวัดให้สามารถสร้างค้าปลีกค้าส่งได้เกิน 1,000 ตารางเมตร จากเดิมเคยห้ามในบางพื้นที่ เช่น ตำบลห้วยยาง ฯลฯ
6) ศรีสะเกษ จากเดิมห้ามไม่ให้มีค้าปลีกสมัยใหม่เข้าไปก่อสร้าง แต่เพราะปัจจุบันไม่สามารถควบคุมได้ มีค้าปลีกขนาดใหญ่ไปก่อสร้าง 6 แห่ง ล่าสุดจึงขอเปิดพื้นที่เพื่อให้สร้างค้าปลีกค้าส่งได้เกิน 1,000 ตารางเมตร ใน 4 อำเภอ คือ อำเภอเมืองศรีสะเกษ, ขุขันธ์, อุทุมพรพิสัย และกันทรลักษ์
7) พิจิตร ขอคุมเข้มการก่อสร้างค้าปลีกค้าส่งมากขึ้น ในระยะห่างจากพื้นที่ใกล้เมือง 15 กิโลเมตร จากเดิมสร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เหลือไม่เกิน 500 ตารางเมตร 8) หนองคาย กลุ่ม
ผู้ประกอบ การท้องถิ่น ขอให้เพิ่มพื้นที่สร้างได้มากขึ้นจากเดิมไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร เป็นไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร เพื่อให้ทางผู้ประกอบการท้องถิ่นสามารถสู้กับค้าปลีกแนวใหม่ได้ 9) สุโขทัย ขอให้มีการก่อสร้างค้าปลีกเกิน 1,000 ตารางเมตร ห่างจากเขตเทศบาลเมือง 7-8 กิโลเมตร ตั้งแต่สี่แยกวังกระจายจนถึงแยกโค้งตานก เนื่องจากจังหวัดไม่มีค้าปลีกค้าส่งขนาดใหญ่ในพื้นที่ จะต้องเดินทางไปซื้อสินค้าอุปโภคและบริโภคที่จังหวัดพิษณุโลก
10) สกลนคร ยึดหลักเกณฑ์เดิมสร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร แต่ขอปรับให้อยู่ริมถนนขนาด 2 ช่องจราจรได้ จากเดิมต้องเป็นถนนขนาด 4 ช่องจราจร พร้อมปรับลดพื้นที่ว่างโดยรอบอาคารจากเดิม 70% เหลือ 50% เพื่อลดต้นทุนก่อสร้าง และ 11) อำนาจเจริญ ให้สร้างได้ไม่เกิน 1,000 ตารางเมตร และขอปรับระยะถอยร่นจากริมถนนเดิม 50 เมตรเหลือ 50 เมตร
นาย เชตวันกล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างยกร่างกฎกระทรวงควบคุมอาคาร เพื่อคุมการขออนุญาตค้าปลีกค้าส่งโดยเฉพาะ ตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ให้แนบเข้าไปในผังเมืองรวมด้วย ใน 8 จังหวัด คือ ภูเก็ต สมุทรปราการ เชียงใหม่ ยโสธร นครนายก สระบุรี สิงห์บุรี และนนทบุรี ยกเว้นกรุงเทพฯที่มีการดำเนินการไปแล้ว
ที่มา : www.prachachat.net
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น