"ปลูกบ้านเองต้องทำอย่างไร"
ขั้นตอนการปลูกสร้างบ้านนั้น สำหรับพื้นที่ในเขตที่มีการประกาศใช้กฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง บ้านหรืออาคารที่จะปลูกสร้าง ต้องได้รับอนุญาตแบบก่อสร้างเสียก่อน และจะสร้างเกินกว่าแบบที่ได้รับอนุญาตไม่ได้ โดยจะยื่นคำร้องได้ ที่สำนักงานปกครองท้องถิ่นที่จะปลูกสร้างนั้น ๆ สำหรับนอกเขตประกาศควบคุมดังกล่าวข้างต้น บ้านหรืออาคารที่ปลูกสร้างไม่ต้องได้รับอนุญาตสามารถปลูกสร้างได้เลย
เมื่อมีการปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ เช่น นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ส่วนเรื่องหลักฐานที่จะต้องใช้ประกอบการขอเลขประจำบ้านนั้นก็คือ หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้านหรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง), สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี), ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว นายทะเบียนก็จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น เจ้าของบ้านจะต้องจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้ว (จุดที่สามารถเห็นได้
เมื่อมีการปลูกบ้านหรืออาคารเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งแห่งท้องที่นั้น ๆ เช่น นายทะเบียนท้องถิ่น หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือปลัดอำเภอ หรือผู้ช่วยนายทะเบียน ณ สำนักงานเทศบาล สำนักงานเมือง สำนักเขต กรุงเทพมหานคร ที่ว่าการอำเภอ หรือกิ่งอำเภอ แล้วแต่กรณีเพื่อขอเลขประจำบ้านภายใน 15 วัน นับแต่วันปลูกสร้างบ้านเสร็จ หากไม่ไปแจ้งตามกำหนดมีความผิดตามกฎหมายมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
ส่วนเรื่องหลักฐานที่จะต้องใช้ประกอบการขอเลขประจำบ้านนั้นก็คือ หนังสือหรือเอกสารได้รับอนุญาตการปลูกสร้างบ้านหรืออาคาร (เฉพาะในเขตพื้นที่ที่ประกาศใช้กฎหมายควบคุมอาคาร หรือกฎหมายผังเมือง), สำเนาทะเบียนบ้านหรือบัตรประจำตัวของผู้แจ้ง กรณีผู้ที่ได้รับมอบหมายให้นำบัตรประจำตัวของผู้มอบและหนังสือมอบหมาย (ถ้ามี) ไปแสดงด้วย, หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ปลูกสร้างบ้าน สัญญาซื้อขาย สัญญาเช่า (ถ้ามี), ผู้แจ้งให้ยื่นคำร้องตามแบบที่กำหนดต่อนายทะเบียนผู้รับแจ้งพร้อมหลักฐานที่นำไปแสดง
เมื่อนายทะเบียนได้รับแจ้งการสร้างบ้านใหม่แล้ว นายทะเบียนก็จะตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารหลักฐานที่นำไปแสดง เมื่อเห็นว่าถูกต้อง ก็ให้กำหนดเลขหมายประจำบ้านให้พร้อมกับจัดทำทะเบียนบ้านและสำเนาทะเบียนบ้านต่อไป โดยจะมอบสำเนาทะเบียนบ้านให้แก่เจ้าของบ้านผู้แจ้งไว้เป็นหลักฐาน เพื่อดำเนินการในเรื่องการย้ายบุคคลเข้ามาอยู่ในทะเบียนบ้านต่อไป หรือจะดำเนินการในคราวเดียวกันก็ได้ ส่วนเลขประจำบ้านที่นายทะเบียนกำหนดให้นั้น เจ้าของบ้านจะต้องจัดทำเลขประจำบ้านติดไว้ที่หน้าบ้านหรือที่รั้ว (จุดที่สามารถเห็นได้
ส่วนเรื่องการรื้อถอนบ้านหรืออาคารที่มีเลขประจำบ้านแล้วนั้น หากเป็นการรื้อถอนโดยไม่ประสงค์จะปลูกสร้างใหม่ในที่ดินนั้นอีก หรือรื้อเพื่อไปปลูกสร้างที่อื่น ให้เจ้าของบ้านแจ้งต่อนายทะเบียนผู้รับผิดชอบภายใน 1 วัน นับแต่วันรื้อถอนเสร็จพร้อมกับนำสำเนาทะเบียนบ้านคืนแก่นายทะเบียนด้วย หากฝ่าฝืนมีโทษปรับไม่เกิน 1,000 บาท
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น ๆ
การขออนุญาตก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย และการใช้สอยอาคาร ภายในเขตเทศบาลต้องได้รับอนุญาตจากเทศบาลเสียก่อน จึงจะดำเนินการได้ เพราะเทศบาลมีหน้าที่ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงแข็งแรง ความปลอดภัย การป้องกันอัคคีภัย การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม การผังเมือง การสถาปัตยกรรม และการอำนวยความสะดวกในการจราจร เพื่อประโยชน์ของผู้อยู่อาศัยในอาคารนั้น ๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น